อินเทอร์เน็ตกับวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบันเรียกได้ว่าแยกกันไม่ออก บางคนถึงขนาดเปรียบเทียบว่าอยู่ในทุกอณูของชีวิตที่ขาดไม่ได้ ลองนึกภาพเครือข่ายล่มสัก 2-3 ชั่วโมงดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับการทำงานรวมถึงจิตใจของเราบ้าง ยกตัวอย่างเช่น ไม่สามารถเข้า Facebook ได้ เช็กอีเมล์ไม่ได้ ส่งงานให้ลูกค้าไม่ทัน แค่นี้ก็ดูวุ่นวายแล้วใช่ไหมล่ะ ซึ่งนอกสัญญาณจากเครือข่ายมือถือแล้วบางคนอาจต้องการความแรงมากขึ้นจึงต้องพึ่งพาเราเตอร์มาเป็นอุปกรณ์เสริม ส่วนเราเตอร์ ยี่ห้อไหนดี รุ่นไหนมีคุณสมบัติน่าใช้งานบ้าง และจะเลือกซื้ออย่างไรให้เหมาะสม วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากกัน
เราเตอร์ คืออะไร จำเป็นต้องใช้หรือไม่?
เราเตอร์ (Router) คือ อุปกรณ์ที่มีหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อื่นใดก็ตาม โดยจะรับส่งสัญญาณผ่านทางระบบ Wi-Fi หรือระบบ LAN ทั้งแบบมีสายและไร้สาย ซึ่งเราเตอร์ในปัจจุบันนั้นมีการพัฒนาฟังก์ชันการทำงานให้รองรับอุปกรณ์ได้หลายเครื่องพร้อมกัน มีระบบความปลอดภัยที่ดีขึ้น ส่งสัญญาณได้ไกลและเสถียรมากขึ้น ความเร็วก็แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้หากถามว่าเราเตอร์จำเป็นหรือไม่ก็ต้องดูที่การใช้งานเป็นหลัก เช่น หากคุณเป็นคนที่ชอบเล่นเกมสัญญาณมือถือเพียงอย่างเดียวอาจไม่ตอบโจทย์ แต่ถ้าแค่เล่นโซเชียลมีเดียก็อาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อเราเตอร์หรือติดตั้งอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติมก็ได้
วิธีเลือกเราเตอร์ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
อย่างที่บอกเอาไว้ในตอนต้นว่าเราเตอร์นั้นมีมากมายหลายรุ่น หลายยี่ห้อ คุณสมบัติก็แตกต่างกันออกไป การจะเลือกเราเตอร์ ยี่ห้อไหนดี เอาไว้ใช้งานจึงต้องพิจารณาจากหลายเรื่องด้วยกันเพื่อให้เหมาะสมกับเรามากที่สุด โดยสิ่งที่เราสามารถใช้เป็นเกณฑ์เบื้องต้นในการเลือกได้นั้นประกอบไปด้วย
1. ความถี่ที่รองรับ
เรื่องแรกเลยที่เราต้องพิจารณาก็คือความถี่ที่รองรับ โดยหลัก ๆ แล้วจะมีด้วยกัน 2 คลื่นความถี่ด้วยกันก็คือ 2.4GHz หรือ 5GHz
- คลื่นความถี่ 2.4GHz เป็นคลื่นความถี่พื้นฐานที่ใช้กันมานาน สามารถกระจายสัญญาณได้ไกลพอสมควร หากเป็นการใช้งานภายในบ้านก็ได้ทั้งหลังแบบสบาย ๆ ความเสถียรก็ถือว่าน่าพอใจ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อกับมือถือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อัจฉริยะต่าง ๆ ภายในบ้านหรือสำนักงาน แต่ข้อจำกัดของคลื่น 2.4GHz ก็คือจากการที่มีผู้ใช้งานเยอะทำให้เกิดความหนาแน่นมากขึ้นเรื่อย ๆ หลายคนจึงเลือกไปใช้เราเตอร์ที่รองรับคลื่นความถี่ 5GHz ที่มีความเร็วมากกว่า
- คลื่นความถี่ 5GHz เป็นคลื่นความถี่ใหม่ที่แก้ข้อบกพร่องในเรื่องความหนาแน่นของสัญญาณ ความเสถียรและความแรง จึงตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในปัจจุบันที่ต้องการความลื่นไหลของสัญญาณมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ใช้ว่าคลื่นความถี่ 5GHz จะไม่มีข้อเสียเพราะไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวางจึงควรใช้งานในห้องที่เปิดโล่งถึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด หรือไม่ก็ต้องซื้อตัวขยายสัญญาณมาเพิ่ม อย่างไรก็ตามเราเตอร์หลายรุ่นก็รองรับทั้งคลื่นความถี่ 2.4GHz และ 5GHz
2. เลือกเราเตอร์จากพอร์ตการเชื่อมต่อ
การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเราเตอร์กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะเลือกเราเตอร์ ยี่ห้อไหนดี เอาไว้ใช้งาน ซึ่งเราเตอร์ปัจจุบันมักสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งกับสาย LAN และเชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi ใช้งานได้แบบไร้สาย หรือบางรุ่นอาจจะสามารถใส่ซิมได้ด้วยช่วยเพิ่มความสะดวกเพราะใช้งานง่ายไม่ต้องเดินสายติดตั้งให้วุ่นวาย ส่วนการจะเลือกแบบไหนก็ขึ้นอยู่ที่ว่าเรามีอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อมากน้อยแค่ไหน โดยหากต้องใช้สาย LAN ก็ต้องเลือกแบบที่มีพอร์ตมาให้ครบตามที่เราต้องการ ทั้งนี้ต้องตรวจสอบสเปคด้วยว่าเราเตอร์รุ่นที่เราสนใจสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้พร้อมกันกี่อย่าง
3. เลือกเราเตอร์ให้เหมาะกับพื้นที่การใช้งาน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในแต่ละพื้นที่ของสำนักงานหรืออาคารบ้านเรือนมักจะมีจุดอับสัญญาณ บางคนติดตั้งเราเตอร์เสร็จแต่รับสัญญาณได้ไม่ดีพอ แม้จะมีเพียงกำแพงห้องกันเอาไว้เท่านั้น ซึ่งปัญหาทางเทคนิคนั้นเราอาจจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนดูแลให้โดยตรวจสอบความแรงของสัญญาณในแต่ละจุดที่จะติดตั้ง ไม่ใช้ติดตั้งตามความสะดวกอย่างเดียว แต่ที่เราสามารถพิจารณาเองได้ก็คือจำนวนของเสาสัญญาณที่มากับเราเตอร์ โดยมีตั้งแต่ 1 เสา ไปจนถึง 7 เสา ซึ่งยิ่งเสาสัญญาณมากก็มีแนวโน้มที่จะกระจาสัญญาณได้อย่างทั่วถึงมากกว่า แต่ราคาก็อาจจะสูงขึ้นตามไปด้วย
4. เลือกจากความเร็วในการรับส่งข้อมูลและแพ็คเก็จอินเทอร์เน็ต
เรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูลคือหัวใจหลักของการใช้งานเราเตอร์ก็ว่าได้ หลักสำคัญก็คือต้องเลือกให้เพียงพอกับการใช้งานของเราเอง โดยพิจารณาจากความเร็วในการอัปโหลดและดาวน์โหลดของเราเตอร์แต่ละรุ่น ถ้าใช้สำหรับการสตรีมเกมก็ควรเลือกที่มีความเร็วสูงหน่อยเป็นต้น และแน่นอนว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตามมาจึงต้องดูแพ็คเกจอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเพื่อที่จะไม่เป็นภาระในตอนสิ้นเดือน หากคุณใช้งานทั่วไปก็อาจเลือกแค่การเชื่อมต่อที่ไม่ต้องเร็วมากก็เพียงพอแล้วและยังช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้อีกด้วย
5. เลือกจากฟังก์ชันเสริมต่าง ๆ
อย่างที่บอกว่าเราเตอร์นั้นมีหลายรุ่น หลายยี่ห้อ คุณสมบัติและฟังก์ชันการใช้งานก็แตกต่างกันออกไป จึงเป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเพราะเมื่อซื้อมาแล้วจะได้ใช้งานได้ครบตามที่ต้องการไม่ต้องมาเปลี่ยนใหม่ในภายหลัง ยกตัวอย่างเช่น จำนวนอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อได้พร้อมกัน, การเข้ารหัสความปลอดภัยเพื่อช่วยปกป้องข้อมูลของผู้ใช้, มีฟีเจอร์ลดความหน่วงของสัญญาณ, รองรับการเชื่อมต่อทั้ง2.4GHz และ 5GHz เหล่านี้ล้วนส่งผลกับการใช้งานขอิงเราทั้งสิ้น
6. ราคา การรับประกัน และบริการหลังการขาย
สุดท้ายแต่ก็สำคัญไม่แพ้ข้ออื่นนั่นก็คือราคาของเราเตอร์ ว่าลงตัวกับงบประมาณที่เรามีอยู่หรือไม่ เพราะเราเตอร์นั้นมีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่นขึ้นกับคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ใส่มาในแต่ละรุ่น นอกจากนี้ในการที่จะเลือกเราเตอร์ ยี่ห้อไหนดี เรายังควรต้องพิจารณาจากเงื่อนไขการรับประกันรวมถึงบริการหลังการขายด้วย เพื่อที่จะใช้งานได้อย่างอุ่นใจว่าเมื่อเกิดปัญหาแล้วจะได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วและยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วยในกรณีที่การชำรุดอยู่ภายใต้การรับประกัน
แนะนำ 10 อันดับ เราเตอร์ยี่ห้อไหนดี
ทำความรู้จักกับเราเตอร์กันไปแล้ว ว่าคืออะไรและควรเลือกอย่างไร คราวนี้เรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลยว่ามีเราเตอร์รุ่นไหน ยี่ห้อใด ที่น่าสนใจบ้าง โดยเราคัดมาหลากรุ่นหลายราคาเพื่อให้คุณเลือกใช้กันได้ตามต้องการ
1. เราเตอร์ ASUS รุ่น RT-N12+
เริ่มต้นรายชื่อเราเตอร์ ยี่ห้อไหนดี กันด้วย เราเตอร์ ASUS รุ่น RT-N12+ เราเตอร์แบบ 3-in-1 Router/AP/Range Extender ใช้งานได้กับทั้งในสำนักงานและที่บ้าน รองรับการเชื่อมต่อทั้งแบบมีสายและแบบไร้สาย มาพร้อมเทคโนโลยี 2T2R MIMO และเสาอากาศแบบ 5dBi จำนวน 2 เสา ซึ่งช่วยให้สามารถกระจายสัญญาณได้อย่างทั่วถึง รองรับการโทร VoIP, การสตรีมมิ่งที่ความคมชัดระดับ HD การเล่นเกมออนไลน์ ใช้งานง่ายผ่านระบบ Quick Internet มีระบบป้องกันความปลอดภัยของเครือข่ายและข้อมูล พร้อม ASUSWRT ที่ช่วยให้การตั้งค่า UI ต่าง ๆ ทำได้อย่างง่ายดาย พร้อมเข้ารหัส VPN แบบ PPTP เพื่อสร้างพื้นที่ส่วนตัวให้คุณในโลกออนไลน์ ทั้งหมดนี้ในราคาที่บอกเลยว่าคุ้มมาก
2. เราเตอร์ D-LINK AC1200 DIR-822
เมื่อพูดถึงเราเตอร์ผู้ผลิตอย่าง D-LINK คืออีกรายที่มีมาตรฐานวางใจได้ ซึ่งเจ้า เราเตอร์ D-LINK AC1200 DIR-822 ตัวนี้ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง โดยมากับดีไซน์เรียบหรูทันสมัย มีเสาอากาศ 4 เสาช่วยให้กระจายสัญญาณได้อย่างทั่วถึง รองรับเทคโนโลยีไร้สายแบบ 802.11ac แบบ Dual Band ทั้ง 2.4GHz และ 5GHz ความเร็วสูงสุดถึง 1200 Mbps ช่วยให้การเล่นเกมออนไลน์หรือสตรีมวิดีโอความละเอียด HD ได้อย่างราบรื่น มาพร้อมโหมดการควบคุมสำหรับเยาวชน การป้องกันเครือข่ายจากผู้ใช้อื่น มีแอพ QRS Mobile ที่ติดตั้งง่าย พร้อมด้วยพอร์ต LAN อีก 4 พอร์ต เพื่อการใช้งานที่เลือกได้ตามความต้องการ ใครหาเราเตอร์ดี ๆ เอาไว้ใช้ตัวนี้ก็น่าสนใจทีเดียว
3. เราเตอร์ TP-LINK Archer AX10 Wireless AX1500
พูดถึงเราเตอร์ ยี่ห้อไหนดี จะขาด TP-LINK ไปได้อย่างไร โดยเจ้า TP-LINK Archer AX10 Wireless AX1500 ตัวนี้เรียกว่าครบถ้วนสำหรับเทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่จะพาคุณท่องโลกออนไลน์ได้อย่างไม่สะดุด รองรับเทคโนโลยี Wi-Fi 6 ให้ทุกการออนไลน์ลื่นไหลและเสถียรมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะกับการเล่นเกม การสตรีมเนื้อหาต่าง ๆ หรือความบันเทิงที่คุณโปรดปราน รองรับทั้งคลื่นความถี่ 2.4GHz และ 5GHz ที่ความเร็วสูงสุด 1.5 Gbps พร้อม OFDMA และ MU-MIMO ที่มาช่วยลดความหน่วง เหมาะมากกับเกมเมอร์ ตัวนี้ใช้ซีพียูแบบ Triple-Core ความเร็ว 1.5Ghz มีเสา 4 เสาที่ใช้เทคโนโลยี Beamforming ช่วยกระจายสัญญาณให้ครอบคลุมพื้นที่ ตั้งค่าง่ายผ่านแอพ Tether รวมถึงรองรับคำสั่งเสียงผ่าน Amazon Alexa อีกด้วย
4. เราเตอร์ Mi Router 4A Gigabit Edition
มาต่อกันที่เราเตอร์อย่าง Mi Router 4A Gigabit Edition กันบ้าง ที่พอเห็นชื่อยี่ห้อก็การันตีได้ในเรื่องของราคาที่เข้าถึงได้อย่างสบายกระเป๋ามากขึ้นและคุณภาพน่าพอใจ มาด้วยสีขาวดูสะอาดตาเข้ากับการตกแต่งบ้านได้หลายแบบ เป็นเราเตอร์แบบ Dual Band รองรับทั้ง 2.4GHz และ 5GHz โดยมีเสาอากาศมาให้อย่างละ 2 ต้น พร้อมเทคโนโลยีช่วยขยายสัญญาณให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ลดอาการหน่วงของสัญญาณ ขับเคลื่อนด้วยชิปประมวลผลแบบ Dual-Core ความเร็ว 880MHz มีพอร์ต LAN มาให้ 2 พอร์ต พ่วงมาด้วยเทคโนโลยีความปลอดภัยปิดกั้นการเข้าใช้งานจากแหล่งไม่รู้จัก รวมถึงสามารถตั้งค่าต่าง ๆ ได้ง่ายผ่าน แอพ Mi WiFi ราคานี้ถือว่าคุ้ม
5. เราเตอร์ Tenda AC1200 Smart Dual-Band WiFi Router
Tenda AC1200 Smart Dual-Band WiFi Router เราเตอร์สวยความเร็วสูงมาในสีดำดูเรียบหรูพร้อม LED แสดงสถานะการทำงาน รุ่นนี้รองรับคลื่นความถี่ทั้ง 2.4 GHz และ 5 GHz ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 1200 Mbps บนมาตรฐาน IEEE802.11a/b/g/n/ac ติดตั้งง่ายในไม่กี่ขั้นตอน ขับเคลื่อนการทำงานด้วย CPU ระดับ 28 นาโนเมตร ความเร็ว 1.0 GHz ประมวลผลได้อย่างรวดเร็วช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีพอร์ต LAN มาให้ 3 พอร์ต เสาอากาศ 5dBi HG อีก 4 ต้นช่วยให้ครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น มีระบบเข้ารหัสความปลอดภัยและตั้งค่าผู้ใช้ที่ไม่ต้องการให้เข้าถึงเครือข่าย รองรับ Tenda Mobile app เพื่อควบคุมการทำงาน มีโหมดควบคุมการใช้งานของเด็ก ตั้งปิดไฟในเครื่องระหว่างนอนได้ ให้เยอะขนาดนี้ต้องรับไว้พิจารณาหน่อยแล้วล่ะ
6. เราเตอร์ Mercusys รุ่น AC12G
Mercusys รุ่น AC12G เราเตอร์แบบดูอัลแบนด์ Wi-Fi ประสิทธิภาพสูง ราคาเบา ๆ รองรับทั้งคลื่นความถี่ 2.4GHz และ 5GHz ความเร็วสูงสุด 867 Mbps ตัวนี้รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ถึง 60ตัวพร้อมกัน มาพร้อมเสาอากาศ 4 ต้น ให้การกระจายสัญญาณที่ทั่วถึงรองรับได้แม้กับบ้านขนาดใหญ่ มีพอร์ต LAN มาให้อีก 4 พอร์ต เพื่อการเชื่อมต่อที่ต้องการความเสถียรมากยิ่งขึ้น รองรับการใช้งานสำหรับสตรีมวิดีโอความคมชัดระดับ HD และการเล่นเกมออนไลน์ รวมถึงความบันเทิงในโลกอินเทอร์เน็ตต่างได้อย่างครบครัน นอกจากนี้ยังติดตั้งง่ายมากอีกด้วย
7. เราเตอร์ Xiaomi รุ่น AIOT AX3600
ใครยังไม่รู้จะเลือกเราเตอร์ ยี่ห้อไหนดี ลองพิจารณา Xiaomi รุ่น AIOT AX3600 กันดูก่อน เพราะรุ่นนี้คือจัดเต็มทุกอย่างจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบที่สวยงาม ฟังก์ชันการทำงาน หรือความสามารถในการเชื่อมต่อและกระจายสัญญาณ รองรับทั้งคลื่นความถี่ 2.4GHz และ 5GHz บนมาตรฐาน IEEE 802.11a/b/g/n/ac/ax, 802.3/3u/3ab ให้ความเร็วสูงสุดถึง 2402 Mbps รุ่นนี้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้พร้อมกันถึง 248 เครื่อง มีเสาอากาศมา 6 ต้น และเสาพิเศษสำหรับ IoT อีก 1 ต้น พอร์ต LAN อีก 3 พอร์ต ซึ่งทางผู้ผลิตเคลมว่ากระจายสัญญาณได้มากกว่าเราเตอร์ทั่วไปถึง 155% ความพิเศษอีกอย่างก็คือ ช่วยเร่งความเร็วบนมือถือของ Xiaomi และ Redmi เพื่อการเล่นเกมที่ลื่นไหล รวมถึงรองรับ MIJIA APP อีกด้วย
8. เราเตอร์ Linksys รุ่น WRT1900ACS
ไปให้สุดกับ Linksys รุ่น WRT1900ACS เราเตอร์ประสิทธิภาพสูงที่จะช่วยให้ทุกการเชื่อมต่อบนโลกออนไลน์ของคุณเร็วแรงไม่สะดุด ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม การสตรีมมิ่ง การเล่นคอนเทนต์ออนไลน์ต่าง ๆ โดยกระจายสัญญาณได้ทั้งคลื่นความถี่ 2.4GHz และ 5GHz ได้อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ที่ต้องการ โดยมีเทคโนโลยี Beamforming มาช่วยลดสัญญาณรบกวน ส่วนด้านประสิทธิภาพของตัวเราเตอร์นั้นใช้โปรเซสเซอร์ Dual-Core ความเร็ว 1.3GHz มาเป็นตัวขับเคลื่อน รุ่นนี้มีพอร์ต Gigabit LAN มาให้ 8 พอร์ต พร้อมพอร์ต USB 3.0 มาช่วยแชร์ไฟล์และเพิ่มที่เก็บข้อมูลภายนอก และเสาอากาศอีก 4 ต้น ทำให้ทุกพื้นที่ไดรับสัญญาณอย่างทั่วถึง มีแอพพลิเคชั่นจาก LINKSYS มาช่วยในการตั้งค่าต่าง ๆ พร้อมระบบความปลอดภัยที่จะช่วยปกป้องข้อมูลและเครือข่ายของคุณ
9. เราเตอร์ Yeacomm รุ่น YF-P25
สำหรับเราเตอร์ Yeacomm รุ่น YF-P25 ตัวนี้เป็นเราเตอร์แบบใส่ซิมที่สามารถใช้งานได้กับซิมการ์ดของผู้ให้บริการทุกเครือข่ายในบ้านเราไม่ว่าจะเป็น AIS, True หรือ DTAC โดยข้อดีของเราเตอร์แบบนี้ก็คือไม่ต้องมีการเดินสายให้วุ่นวาย ติดตั้งและใช้งานง่ายเพียงใส่ซิมการ์ดเข้าไปในเครื่องเท่านั้น ส่วนประสิทธิภาพการทำงานนั้นรองรับ Wi-Fi มาตรฐาน IEEE 802.11 b/g/n ความเร็วสูงสุด 150 Mbps เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้พร้อมกันถึง 32 เครื่อง มีพอร์ต LAN จำนวน 1 พอร์ต และเสาอากาศ 1 เสา ใครที่ต้องการเราเตอร์ที่เรียบง่ายเอาไว้ใช้ในบ้านตัวนี้ก็น่าสนใจไม่น้อย
10. เราเตอร์ Wavlink รุ่น Quantum S4 N300
ส่งท้ายรายชื่อ เราเตอร์ ยี่ห้อไหนดี กันด้วย Wavlink รุ่น Quantum S4 N300 เราเตอร์ราคาประหยัดแต่ให้การใช้งานอย่างน่าพอใจ มาพร้อมดีไซน์ที่เรียบง่ายในสีดำ ใส่เสาอากาศมา 2 ต้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสัญญาณ รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11 a/b/g/n ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 300 Mbps มีพอร์ต LAN มาให้ 4 พอร์ต จุดเด่นอย่างหนึ่งของเราเตอร์รุ่นนี้ก็คือเรื่องของความปลอดภัย โดยมีปุ่ม WPS เข้ารหัสความปลอดภัย และระบบป้องกันเครือข่ายอย่าง PPPoE, Dynamic IP และ WISP ให้คุณใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างอุ่นใจ ทั้งหมดนี้ในราคาที่น่าคบหาเอามาก ๆ
บทส่งท้ายจากผู้เขียน
ผ่านไปแล้วกับ 10 รุ่น เราเตอร์ ยี่ห้อไหนดี ที่เราคัดมาให้คุณได้พิจารณากัน โดยพยายามให้มีตัวเลือกในหลายระดับราคา คุณสมบัติของแต่ละรุ่นก็มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการกระจายสัญญาณ ความแรง จำนวนเครื่องที่สามารถเชื่อมต่อได้ การตั้งค่าการใช้งาน ระบบความปลอดภัย เครือข่ายที่รองรับ ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ลองเทียบกันดูอีกครั้งว่าเราเตอร์รุ่นไหนจากยี่ห้อใดที่ลงตัวกับความต้องการของคุณมากที่สุด